ข้อมูล Encephalartos Humilis
ข้อมูล Encephalartos Humilis (ได้แปลมาจากหนังสือ South Africa)
ในปี 1951 Iner Verdoorn แยก Encephalartos humilis เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แยกมาจาก Encephalartos lanatus คำว่า humilis ภาษาลาตินแปลว่า ต่ำ หมายถึงการเจริญเติบโตต่ำมาก จึงเป็นสายพันธุ์ที่เรียกว่า Dwarf
Habitat :
สายพันธุ์นี้เติบโตใน Carolina, Lydenberg, Machadodorp และ Nelspruit อาณาเขตความลาดชัน ทุ่งหญ้า และความลาดชันของภูเขา บางก็เกิดขึ้นในช่องระหว่างหิน ที่ไหนที่มันเกิดขึ้นแสดงว่าแสงแดดส่องถึงทั้งวัน ปริมาณฝนตก 650-1000 มิลลิเมตร ต่อฤดูกาลต่อปีในช่วงหน้าร้อน การเพิ่มจำนวนโดยการปลูกยูคาลิปและต้นสน แต่ว่า Encephalartos humilis จะถูกปกป้องโดยพื้นที่ป่าสงวนเล็กๆ ระหว่างสวนใหญ่ๆและสวนอนุรักษ์ดำเนินงานโดยบริษัทที่อนุรักษ์ แต่ก็มีพื้นที่บางพื้นที่มันจะคาบเกี่ยว 2 สายพันธุ์ นั่นก็คือ สายพันธุ์ Encephalartos Humilis และ Encephalartos leavifolious ในบริเวณใกล้กับ kaapsehoop แต่ก็ปรากฏว่าไม่มี hybrid ในพื้นที่นี้ ในช่วงเวลาที่เกิดไฟไหม้ป่า จะเป็นปัญหาอย่างมากกับสายพันธุ์นี้ เพราะจะถูกทำลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นกล้าที่ยังมีขนาดไม่ใหญ่พอ แต่ว่าต้นที่มีอายุนานมากแล้ว จะพบว่ามีลำต้นอยู่ใต้ดินและไม่มีผลกระทบ นอกจากจะเสียใบไม้ไป โดยไฟเนี่ยจะทำให้เกิด Cone และใบใหม่เกิดขึ้นมาได้
สายพันธุ์นี้จะเกิดการสูญพันธุ์สูง เพราะว่า นักสะสมเร่งที่จะสะสมและการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ความไม่เหมาะสมทำให้พืชไม่ค่อยออก Cone เมล็ดที่ออกมาก็มีจำนวนเล้กน้อยมาก ฝนตกหนักและความชื้นสูงจึงบอกได้ว่ามีความไม่เหมาะสมในการเกิด Cone
Cultivation :
เป็นสายพันธุ์ที่เติบโตช้าและเมื่อโตแล้ว เมื่อเห็นว่าใบเริ่มโน้มเอียงมันก็จะทิ้งใบลงอย่างไม่มีเหตุผล ด้วยการเติบโตที่เริ่มต้นใหม่ โดยจะมีการงอกของConeหรือใบใหม่ ปรากฎหลังจากนั้นหลายเดือน พืชพันธุ์นี้สามารถเจริญเติบโตในสภาวะอากาศร้อนเต็มวันหรือในสภาะที่เป็นน้ำแข็งได้เลย พืชสายพันธุ์นี้สามารถขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อหรือมาจากเมล็ดก็ได้
ลำต้น(stem) :
ลำต้นตั้งอยู่ที่พื้นดินขนาดใหญ่มากและตั้งตรง สายพันธุ์นี้ไม่ธรรมดาใน South Africa และมันมักจะมีหน่อที่เกิดขึ้นมาเป็นประจำ เหมือน Encephalartos cupidus ลำต้นยาว 400-500 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 130-180 มิลลิเมตร และมี cataphylls ค่อนข้างอ่อน ส่วนปลายยอดจะมีขนบางๆปกคลุม
ใบ(Leaves) :
หน้าใบมีสีน้ำเงินแกมเขียว และผิวใบด้านหลังเป็นสีเขียวอ่อน ปลายใบมีความโค้งแข็ง แต่ว่าปลายใบมีการโค้งลงอย่างอ่อนช้อย และก้านใบจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อนและมีการบิด ทำให้สายพันธุ์นี้ใบไม่เป็นระเบียบ ใบมีลักษณะไม่แข็งทื่อ ความยาว 300-500 มิลลิเมตร
ค่า pp-angle จะเพิ่มจาก 30°-40° ที่ปลายใบไปถึงประมาณ 180° ที่ไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole
ค่า pr-angle จะเพิ่มขึ้นจาก 20°-30° จากปลายใบไปจนถึงในส่วนถัดมาของใบไปในทิศใบล่างที่ลงสู่โคนก้านใบไปทาง petiole
90°
ค่า s-angle จะประมาณ 0° ทั้งยอดใบและฐานใบ แต่ประมาณ 40° ในระหว่างกลางใบนั้น ใบย่อยหนึ่งกับใบอื่นจะไม่มีการทับกันหรือเกยกันเลย
Petiole : ยาว 100-160 มิลลิเมตร
Mediam leaflets : ยาว 90-140 มิลลิเมตร ความกว้าง 4-6 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นหนังบางๆและไม่มีปุ่ม มีขอบใบย่อยทั้งหมดจะไม่หนามและไม่หนาแต่ก็ยกเว้นเป็นบางกรณี อาจจะมีเกิดขึ้นได้หนามแค่ฟัน(tooth) เดียวเกิดขึ้นที่ขอบใบ ด้านบนผิวใบ มีลักษณะเว้าในแนวขวางหรือ มีเว้าน้อยๆทางแนวยาว ปลายใบจะความแหลมและก็แข็ง
Basal leafets : จะลดขนาดลงสู่ข้างล่าง 1-2 ใบย่อยที่ลดขนาด หรือมากกว่านิดหน่อย
Cone :
ทั้ง Male Cone และ Female Cone ที่เกิดออกมามี 1 Coneเท่านั้น มีขนสีเหลืองเทาๆ เกิดขึ้น 1 Cone ต่อฤดูต่อต้น และมันมักจะพบเห็นได้ในช่วงเดือนสิงหาคม
Male Cone : มีความยาว 150-200 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 40-50 มิลลิเมตร และมี peducle ยาว 100 มิลลิเมตร pollen shedding จะออกมาในเดือน สิงหาคม ถึง พฤษจิกายน
Female Cone : มีความยาว 250-300 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 80-100 มิลลิเมตร และและมี peducle ยาว 30-50 มิลลิเมตร โดยจะสังเกตุได้ง่ายเพราะถูกปกคลุมโดย Cataphylls ที่ปลายยอดของลำต้น Coneของเกสรตัวเมียจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน มกราคมถึงมีนาคม โดยจะเกิดเมล็ดประมาณ 40-105 เมล็ด
เมล็ด(Seeds) :
จะมีสีเหลือง ความยาว 20-22 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-17 มิลลิเมตร เมล็ดจะมีเปอร์เซนต์ในการงอก 9% และเมล็ดผสมแล้วจะมีลักษณะกลายเป็นเมือกหลังจากนั้นก็จะสุกตามมา
Seed kernal(เนื้อในเมล็ด) โดยทั่วไปจะมีความยาว 19 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 มิลลิเมตร
Note :
สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดเล็ก มันง่ายในการสับสนถ้าเกิดในพื้นที่ juvenile จะมี Encephalartos laevifolius และ Encephalartos lanatus เมื่อ 2 สายพันธุ์ด้านหลังเมื่อโตเต็มที่ Encephalatos humilis สามารถดูได้อย่างง่ายดายคือพิจารณาจากลำต้น ใบย่อยจะสั้นและปลายก้านใบจะโค้งลง ทำให้พิจารณาความแตกต่างได้จากสายพันธุ์ Encephalartos laevifolius
ปลายยอดลำต้นของ Encephalartos laevifoliusจะมีลักษณะที่เด่นรวมทั้งความยาว แคบ หนา และก็แหลมของ cataphylls ขณะที่ cataphylls สั้น ทื่อ อ่อน และมีขนบางๆ
ความแตกต่างระหว่าง Encephalartos humilis กับ Encephalartos lanatus สามารถพิจารณาได้ถึงความแตกต่างได้จาก s-angleของใบ ใน Encephalartos lanatus จะมี s-angle ประมาณ +90 องศา ส่วนEncephalartos humilis จะมี s-angle ประมาณ 0 องศา