ข้อมูล Encephalartos umbeluziensis

Robert Allen Dyer บรรยายถึงสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ.1951 ในปี ค.ศ.2003 Hugh F.Glen และ P.J.H. ( Johan) Hurter ลดชื่อเป็นคำพ้องความหมายของ Encephalartos strians ซึ่งอธิบายโดย Ono Stapf และ John Butt davy ในปี ค.ศ.1926 อย่างไรก็ตาม คำอธิบายและประเภทของตัวอย่างของ Encephalartos striatas นั้นไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนชื่อ Encephalartos umbeluziensis นี้ไม่สามารถทำได้เป็นที่ยอมรับ ฉายา ambelaziensis หมายถึงแม่น้ำ Umbeluzi ซึ่งเป็นที่เก็บกักน้ำตำแหน่งของ

สายพันธุ์นี้ที่เกิดขึ้น

Description

Stem(ลำต้น): ลำต้นตั้งตรงแต่อยู่ใต้ดินไม่ค่อยเกิดหน่อ มีความยาวได้ถึง 300 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 200-250 มิลลิเมตร ปลายก้านปกคลุมด้วย cataphyll สีเทาหลวมๆ

Leaves(ก้านใบย่อย) : พืชมักมีก้านใบย่อยน้อยกว่า 10 ก้านใบ ซึ่งไม่หย่อนคล้อยลงมาอย่างเห็นได้ชัดเจน ในช่วงที่โคนงอกหรือแตกใบใหม่ ใบเป็นสีเขียวเข้มมัมวาวอยู่ด้านบน ตรงและแข็งแต่หย่อนกว่าในที่ร่มแต่ว่าถ้าเป็นที่ๆแสงน้อยมากๆก็จะค่อยๆโค้งลงด้านล่างได้เหมือนกันของใบสีเขียวอ่อนกว่าด้านบนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก้านใบอ่อนจะมีขนที่ใบ ยกเว้นด้านบน ก้านใบมีความยาว 0.7-2.0 เมตร

pp-angle.pr-angle,s-angle

มีค่า Pp-angle 120o-180o ตลอดความยาวของก้านใบ

มีค่า Pr-angle 20o-40o ที่ปลายสุดของก้านใบ และ 70o-90o ในส่วนที่เหลือของเรียวยาวของใบ

มีค่า s-angle -10o to -40o ตลอดความยาวของก้านใบ

ใบย่อยไม่ได้ทับซ้อนซึ่งกันและกัน หรือถ้าซ้อนก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

Petiole: มีความยาว 150-300 มิลลิเมตร

Median Leaflet:มีความยาว 100-300 มิลลิเมตร และมีความกว้าง 8-15 มิลลิเมตร ลักษณะใบคล้ายๆหนังและโดยไม่ปุ่มเล็กๆที่หน้าใบ หน้าใบของใบย่อยจะเว้าเป็นท้องเรือดูแข็งๆในทางขวาง และทั้งตรงๆและนูนมีการโค้งเล็กน้อยทางแนวนอน ขอบใบล่างของใบย่อยมีแนวโน้มที่จะโค้งงอ ขอบใบบนจะมีฟันที่เรียกว่า teethอยู่ 1-2 หนามเล็กๆ และขอบใบล่างจะมีฟันที่เรียกว่า teeth 1-3 หนาม หนามส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปลายใบของใบย่อย

Basal leaflet: จะลดขนาดลงเหลือหนาม(Spine)เพียง 1 หรือ 2 หนามอย่างมากที่สุด

Cone: Cone ทั้งสองเพศมีสีเขียวในตอนแรก แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปรากฏในเดือนกุมภาพันธ์

Male Cone(โคนตัวผู้): โคนตัวผู้ยาว 250-500 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 60-100 มิลลิเมตร และมีก้านช่อดอกยาว 100-230 มิลลิเมตร Male Cone สดมีมวล 0.3-0.6 กิโลกรัม และมี sporophylls สปอโรฟิลล์ 140-260 การหลั่งละอองเรณูเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมขกันยายน

Female Cone(โคนตัวเมีย):มีความยาว 250-475 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 120-150มิลลิเมตร และมีก้านยาว(Peducle) 90-185 มิลลิเมตร Female Cone มีมวลสด 1.3-3.1 กิโลกรัม และมี sporophylls สปอโรฟิลล์ 100-130 สปอโรฟิลล์ ซึ่งสปอโรฟิลล์ถูก Sterile จะแตกประมาณ 12% Coneจะแตกสลายเองตามธรรมชาติ ในช่วงเดือนธันวาคม แต่ล่ะ Coneจะให้ผลผลิต 150-200 ommules

Seeds(เมล็ด): จะมีสีแดงสด ยาว 29-32 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 18-23 มิลลิเมคร และมีดัชนี Sarcotesta ประมาณ 8% Sarcotesta จะกลายเป็นเมือก

Seed Kernels(เมล็ดด้านใน): จะมีความยาว 25-26 มิลลิเมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-16 มิลลิเมตร kernels(เมล็ดด้านใน) มีลักษณะเฉพาะในหมู่พันธุ์ปรงของแอฟริกาตอนใต้ เนื่องจากผิวจะถูกปกคลุมด้วยตุ่มเล็กๆ แต่ล่ะเมล็ดจะมีสันตามยาว10-12 เหลี่ยม

Habitat(ที่อยู่อาศัย): สายพันธุ์นี้จะอยู่บริเวณหุบเขาของแม่น้ำ Umbellian ทั้งในสวาซิแลนด์(Swaziland) และ Mozambique พืชสายพันธุ์นี้จะเติบโตดีในที่ลาดชันและมีความสัมพันธุ์กับทุ่งหญ้า Savannah และ Bushveld ที่ค่อนข้างแห้ง ปริมาณฝนตกในพื้นที่ 600-750 มิลลิเมตร และมักจะตกในฤดูฝนเป็นจำนวนมาก ระดับความสูงในประเทศโมซัมบิกอยู่ที่ 120 เมตร แต่พื้นที่ทางทิศตะวันตกในสวาซิแลนด์นั้นสูงกว่ามาก แม้ว่านักสะสมตามธรรมชาติจะมีจำนวนมากแต่นักสะสมจะนำเอาออกไปอย่างมากมายและจริงจัง การดำรงชีวิตของสายพันธุ์นี้ในป่านั้นยังไม่ใกล้สูญพันธุ์มาก

Cultivation(การเพาะปลูก): เป็นพืชที่ค่อนข้างโตช้า มันเติบโตได้ดีในที่ร่มหรือแสงน้อยและสามารถทนต่อสภาวะน้ำค้างแข็ง เนื่องจากพืชไม่ค่อยผลิตหน่อ มันจึงขยายพันธุ์ทางเมล็ดเท่านั้น ที่ขั้นตอนแรกใน 1 ใบย่อย สายพันธุ์นี้ไวต่อการติดเชื้อ 10 อย่าง จากเชื้อราที่ทำให้เน่าเสียขึ้นได้

Note(หมายเหตุ): การผสมพันธุ์เกสรเทียม โดยวิธีทั่วไปมักจะให้ผลไม่ดี ในทางกลับกันเมล็ดพันธุ์ที่เก็บแบบป่ามักจะให้เปอร์เซนต์การงอกสูง ความยาวใบย่อยของสายพันธุ์นี้ ขึ้นกับความเข้มแสงที่มีอยู่ส่งมา ในที่แสงน้อยหรือที่ร่ม ใบไม้สามารถยาวได้สองเท่าของความยาวที่แสงแดดส่อง

พืชสายพันธุ์นี้มาจากพื้นที่ลุ่มต่ำในโมซัมบิก(Mozambique) มีขนาดที่ใหญ่ มีใบที่ยาวกว่าพื้นที่ที่สูงกว่าตำแหน่งที่คล้ายกันใน Swaziland

Encephalartos umbeluziensis บางครั้งจะสับสนกับสายพันธุ์ Encephalartos villosus แต่มักจะพบ Encephalartos cerinus เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ดีก้านใบย่อยของ Encephalartos umbeluziensis จะมีความยาว และมี Petiole ที่มองได้ชัดเจนกว่าคือโดยไม่มีหรือมีก็น้อยมาก หนาม(basal leaflets)ของEncephalartos villosusโดยทั่วไปจะลดขนาดไปแบบเป็น Long serie of spine ลงไปถึง leaf base โดย Encephalartos cerinus เมื่อโตเต็มที่จะไม่มีหนามที่ขอบใบย่อย ซึ่ง Encephalartos umbeluziensis จะมีหนามที่เรียกว่า Teeth ทั้งสองด้านของขอบใบย่อย โดยหนาม(teeth)ของต้น Encephalartos cerinus ที่ยังไม่โตเต็มที่ จะไม่เกิดขึ้นใกล้กับปลายใบเช่นเดียวกับกรณีของ Encephalartos embeluziensis

© 2000:Mr.Prince Farm, All Rights Reserved | Awesome Theme by: D5 Creation | Powered by: WordPress